พญาอนันตนาคราช

ประวัติพญาอนันตนาคราช 





จากบทความ พญานาค มีจริงหรือไม่!? ที่ได้เขียนไว้ ความเชื่อแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐาน คือ พญานาค ลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี และที่สำคัญคือ นาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช)  วันนี้ผู้เขียนจะมาขยายความเกี่ยวกับพญาอนันตนาคราชกันคะ ใครที่ชอบเรื่องราวตำนาน ความเชื่อ เลขเด็ด  ติดตามเราได้ที่บล็อกของเราได้เลยคะ จะมีเรื่องใหม่ๆมาลงให้ทุกท่านได้อ่าน  ห้ามพลาด!!


พญาอนันตนาคราช 

พญาอนันตนาคราชทรงเป็นโอรสองค์แรก ใน พระฤษีกัสสยปะ และ นางมัทรุ ( ครูบาอาจารย์สื่อเป็นเอกฉันท์ให้ยึดตำนานนี้) และ ทรงเบื่อหน่ายความวุ่นวายของพี่น้องและได้เข้าเฝ้าถวายงานเป็นแท่นบรรทมขององค์พระนารายณ์ โดยมีพระนางอุษาอนันตวดีทรงเป็นแท่นบรรทมให้พระแม่ลักษมี
พญาอนันตนาคราช ทรงมีเดช และ พระบารมีมาก พระพละกำลังหานาคราชใดเทียบเทียม ทรงมีพระมเหสีหลายพระองค์ แต่ทรงมีใจรักมั่นเทิดทูนในพระนางอุษาอนันตวดี ศรีชายาคู่พระบารมี พญาอนันตนาคราช มีพระราชโอรส ที่จุติแดนเทพ ไม่ใช่ภูมินาคเพียงพระองค์เดียว คือ พญาเพชรภัทรนาคราช นอกนั้นโอรสธิดา เป็น นาคภูมิจุติ. 
ทรงบำเพ็ญ อพรมจริยาวิสัย ในดินแดนพรหมเพื่อบำเพ็ญบารมีพร้อม สำเร็จ อริยบุคคลใน กาลของพระศรีอาริยเมตตรัยพุทธเจ้า ร่วมกับพระชายา พระนางอุษาอนันตวดี

ราชาแห่งนาคทั้งมวลในตำนวนของฮินดู อนันตเศษ (อะ-นัน-ตะ-เส-สะ) หรือ อนันตนาคราช มีขนาดตัว เป็นอนันต์สมชื่อ เพราะเป็นผู้นอนอยู่ในเกษียรสมุทรและให้พระนารายณ์นอนบนหลัง บางตำนานเล่าว่าดาวนพเคราะห์นั้นก็ตั้งอยู่บนพังพานของอนันตนาคราช ส่วนหัวซึ่งมีตั้งแต่ห้าหัวถึงหนึ่งพันนั้นไม่พ่นพิษเหมือนนาคอื่นๆแต่เป็นเปลวไฟและอนันตนาคราชก็จะร้องเพลงสรรเสิญบารมีของพระนารายณ์เป็นนิจ ในตำนานเล่าว่าตอนที่เหล่านาคเล่นโกง ที่แม่ไปพนันกับนางวินตาซึ่งเป็นแม่ของพญาครุฑ (ทั้งคู่พนันสีม้าของพระอาทิตย์ เหล่านาคนั้นพ่นพิษใส่จนหางของม้าพระอาทิตย์เป็นสีดำ บ้างก็ว่าเหล่านาคตัวเล็กๆได้เลื้อยเข้าไปแทรกในขนสีขาวจนดูสีดำเป็นหย่อม) อนันตเศษนั้นรังเกียจบรรดาน้องๆเลยหนีไปจำศีลอยู่ตัวเดียวเวลาผ่านไปพระพรหมก็มาเจอเข้า เมื่อทราบว่าอนันตเศษไม่ชอบใจที่น้องโกงพนันเลยให้ไปนอนในเกษียรสมุทรเป็นเตียงให้พระนารายณ์ คำสาปที่ทำให้ครุฑจับนาคกินได้จึงไม่รวมถึงอนันตเศษด้วย ตำนานที่ดุเดือดของอนัตเศษที่สุดนั้นกล่าวว่าครั้งหนึ่งอนันตเศษเคยโผล่หัวขึ้นไปบนสวรรค์ (ไม่ใช่มุข เพราะตัวยาวจนไม่ต้องขึ้นไปทั้งตัว) และโอ้อวดกับเหล่าเทวดาว่า ในสามโลกนี้มีแต่ตรีมูรติเท่านั้นที่มีอำนาจเหนือตน หากใครไม่เชื่อแล้วก็จงมาประลองกำลังกันเถิด เหล่าเทวดากลัวหัวหด มีแต่พระพายที่กล้าพอ คิดว่าอย่างไรนาคตัวนี้ก็เป็นแค่ดิรัจฉานการจำมาท้าตีท้าต่อยกับเทวดาจึงนับว่าโอหังนัก พระพายรับคำท้า ว่าแล้วพญาอนันตนาคราชก็เอาตัวเองพันรอบภูเขาลูกหนึ่งไว้ บอกว่าให้พระพายลองทำลายภูเขานี้ดูพระพายนั้นใช้กำลังสร้างพายุรุนแรงหมายจะพัดทำลายภูเขานั้นให้ยับเยิน แต่อนันตเศษก็ขยายตัวเองให้ใหญ่ขึ้นแล้วแผ่พังพานป้องไว้ได้ทุกครั้ง สุดท้ายพระพายจึงทุ่มกำลังทั้งหมดเข้าโจมตีโดยดึงเอาลมในตัวสัตว์โลกทั้งมวลมาใช้ด้วยแต่ก็ถูกอนันตเศษกลืนเข้าไปทั้งตัว ทีนี้เมื่อไม่มีพระพายแล้ว สัตว์โลกทั้งหลายก็หายใจไม่ออก ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องมาบอกเตียงหลังโปรดให้คายพระพายออกมา อนัตนาคราชทำตาม ปรากฏว่าตอนที่อนันตนาคราชคายพระพายมานั้นก็บังเกิดเป็นลมรุนแรงพัดไปโดนภูเขาที่พันไว้จนราบเป็นหน้ากลอง ทั้งพระพายและอนันตนาคราชต่างก็นับถือ ในกำลังของกันและกัน เลยตกลงว่าการประลองครั้งนี้เป็นเสมอ บางที่ที่ค้นเจอ ยกบทนาคที่พันเขาพระสุเมรุไว้ตอนกวนเกษียรสมุทรให้อนันตนาคราชด้วย แต่จริงๆแล้วนาคที่รับบทนี้ก็คือพญาวาสุกี


มหานาคะ มหานาคี เทวีนาคกลัยาณี มหานาคะ เทวา ชะยะ เตตี เตติ
พาหนะคู่บารมีของพระนารายณ์ คำว่าอนันตะมีความหมายว่า อนันต์ ไร้จุดจบ

มีความยาวมากถึงขนาดว่าสามารถพันรอบโลกได้แต่เดิมพญานาคราชมีพระนามเดิม ว่าพญาเศษะ นาคราช ทรงเป็นโอรสองค์แรกของพระกัศยปะ และ นางกัทรุ พญาอนันตนาคราชเป็นใหญ่ในเมืองบาดาลเป็นราชาแห่งนาคทั้งปวงในเกษียรสมุทรและ ได้ตามเสด็จพระนารยณ์เสมอ


นาคเป็นงูใหญ่ บนหัวมีหงอน ที่คางมีเครา ลำตัวมีเกล็ดและปลายหางมีลวดลายงดงาม มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงตัวได้ และสามารถบันดาลให้เกิดฝนได้ด้วย เรียกว่า นาคให้น้ำ นาคในวรรณคดีไทย นอกจากจะมี ๑ หัวแล้ว ยังปรากฏนาคที่มี ๗ หัว เรียกว่า นาคเจ็ดเศียร พญาอนันตนาคราช มี ๑,๐๐๐ เศียร อนันตนาคราชขดตัวอยู่กลางเกษียรสมุทร เป็นแท่นบรรทมให้พระนารายณ์ หลังจากที่พระนารายณ์ปราบผู้ที่มารบกวนเทวดาและมนุษย์ได้แล้ว อนันตนาคราชสามารถพ่นพิษเป็นไฟบัลลัยกัลป์ล้างโลกได้เมื่อถึงเวลาสิ้นอายุ ของโลก เมื่อพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์ อนันตนาคราชก็มาเกิดเป็นพระลักษมณ์ช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์ด้วย

ความเชื่อของพญานาคกับพระพุทธศาสนา


      ตามตำนาน พญานาค มีอยู่ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ดังเช่น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ มุจลินท์ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำ ๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ มุจลินท์ เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า
ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา

ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงเรื่องราวของพญานาคมากมายหลายแห่ง 
     นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาส ได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้มากนัก พญานาคหรือนาคราช หมายถึงกายทิพย์ชนิดหนึ่ง จัดเข้าในเดรัจฉาน ภูมิ เป็นสัตว์ที่เป็นทิพย์ เป็นราชาแห่งงู ประดุจราชาแห่งมนุษย์ ในสุทธกสูตร กล่าวถึงพญานาคว่า มีกำเนิด ๔ อย่างคือ ๑.เกิดในฟองไข่ เรียกว่า อัณฑชะ ๒.เกิดในครรภ์ เรียกว่า ชลาพุชะ ๓.เกิดในสิ่งที่ไม่สะอาดหมักหมม ในเหงื่อ ไคลเรียกว่า สังเสทชะ ๔.เกิดแล้วโตทันที เรียกว่า โอปปาติกะ (สุทธกสูตร มก.๒๗/๕๕๖)

เมืองพญานาค หรือเมืองบาดาล 


    ในเมื่อมีเมืองมนุษย์ หรือโลกมนุษย์ โลกสวรรค์ หรือเมืองสวรรค์ ก็ต้องมีเมืองบาดาล (เมืองพญานาค) สองเมืองนอกจากเมืองมนุษย์แล้วหลายคนก็คงต้องอยากไปเป็นแน่ วิสัยของมนุษย์ชอบในสิ่งที่ท้าทาย ยิ่งห้ามก็ยิ่งอยากพบ อยากเห็นเมืองบาดาลอยู่ใต้เมืองมนุษย์ลงไปในใต้ดิน 16 กิโลเมตร (ตามความเชื่อ) มีคำเล่าลือเกี่ยวกับเมืองบาดาลในเขต อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 


มนตร์บูชาพญาอนันตนาคราช


นาคเทวะ ปรี ตา ภวันติหะ คานติมาปโนติ เวน วิภี/
สัมศานติ โลก มา สาทยะ โมทเต ศาศติช สมาช// 

มนตร์นี้เป็นภาษาที่พราหมณ์อินเดียใช้ในการบูชาค่ะ
และวันที่จะบูชาจะตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือนศราวัน(เดือนกรกฏาคม-สิงหาคม)ของทุกปีค่ะ ซึ่งจะเรียกว่า"วัน นาค ปัญจมี " 

คาถาอัญเชิญพญานาค 


ตั้งนะโม 3 จบ
นะมามิ ลิละ สาเข ปัตถะ ละปะ ธัมเม สะคะลับตี สะเยตานาคะ ลาเชนะยะ
ปิสะโตฯ 

พระคาถาถวายการสักการะบูชา 


เอหิสังคัง ปิโยนาคะ สุปันนานัง มะยัง 

หรือกล่าวเฉพาะ

กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา (ชื่อพระนามอย่างเช่น องค์ วาสุกรีนาคราช,อนันตนาคราช,ภุชงค์นาคราช,นาคาธิบดีศรีสุทโธ,) วิสุทธิเทวาปูเชมิ ถ้าเป็นองค์นางพญานาคี ก็เปลี่ยนเป็น นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ 

(เช่น กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา วาสุกรีนาคราช วิสุทธิเทวาปูเชมิ

หรือ

กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ

หรือ

กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ) 

คาถาบูชาอีกบทหนึ่ง 

นาคเทวะ ปรี ตา ภวันติหะ คานติมาปโนติ เวน วิภี สัมศานติ โลก มา สาทยะ โมทเต ศาศติช สมาช 

หรือกล่าวย่อ คือ 

คัด สะ มะ อุ มะ (9 จบ) คณะศิษย์หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (คศช.) ศูนย์พระเครื่องจอมพระ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตำนานงูยักษ์แห่งกาญจนบุรี!!

พญานาค มีจริงหรือไม่!?