ที่มาของ..เสาร้องไห้ ตำนาน 100 ปีของประเทศไทย!!


ตำนานเสาร้องไห้


จุดเริ่มต้นเรื่องราวของ ต้นตะเคียนทองที่จมอยู่ในแม่น้ำป่าสักและมีเสียงดั่งเสียงร้องไห้อันเป็นที่มาของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีจนถึงทุกวันนี้ ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผ้คนมากมายมาเยี่ยมชม และของโชคขอลาภ และเลขเด็ด  และด้วยความศักดิ์สิทธของเสาร้องไห้นี้ก็ทำให้ชาวบ้านถูกหวย และกลับมาแก้บนให้เจ้าแม่ อีกหลายต่อหลายครั้ง







ที่มา....ตำนานเสาร้องไห้


        เสาร้องไห้ เป็นเสาไม้ใหญ่ ตั้งอยู่ที่ศาลเจ้าแม่นางตะเคียนในวัดสูง ตำบลเสาไห้ มีประชาชนไปเคารพบูชากันมาก โดยถือกันว่าเป็น เจ้าแม่ตะคียน สิ่งของที่นำไปบูชาล้วนเป็นของใช้สตรีทั้งสิ้น มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า

        เมื่อครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ประมาณปี พ.ศ. 2325 หัวเมืองต่างๆได้ส่งเสาไม้ดีเพื่อร่วมสร้างปราสาทราชวัง ทางการต้องการถึง 80 ต้นนั่นรวมถึงเสาจากแควป่าสักก็ร่วมประกวดในครั้งนี้ ซึ่งเสานี้เป็นต้นตะเคียนทองจากผืนป่าดงพญาไฟ ล่องลงมาจากแก่งคอยมุ่งสู่กรุงก่อนเสาแควอื่นจนได้ตราประทับเป็นไม้หมายเลข 1แต่เมื่อครั้งพิจารณาคัดเลือกไม้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักการเดิม ทำให้เสาจากแควป่าสักเป็นไม้หมายเลข 5 เพราะถูกตำนิว่าปลายคดด้วยเหตุที่พลาดหวังจึงหนีจากจากท่าน้ำที่ประกวดลอยทวนน้ำขึ้นมาจนถึงแควป่าสัก ณ.บ้านไผ่ล้อมน้อย  และมาร้องไห้คร่ำครวญดุจดังเสียงผู้หญิงร้องไห้ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลุกตื่นขึ้นมาหุงข้าวในตอนเช้าก็ได้ยินเสียงและพากันมาดู
ซึ่งขณะนั้นน้ำได้ไหลเชี่ยวมากและเสาก็ได้ชี้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 9 นาฬิกา แล้วก็ค่อยๆจมลง  ณ ตำบลแห่งนี้อยู่ประมาณ 100 กว่าปี เมื่อปี พ.ศ. 2501 ได้มีชาวบ้านนำขึ้นจากน้ำไปไว้ที่ศาลหน้าพระอุโบสถวัดสูงจนถึงปัจจุบันนี้พอตกเวลากลางคืนชาวบ้านมักได้ยินเสียงร้องไห้ จึงได้ให้ชื่อตำบลนี้ว่า ตำบลเสาร้องไห้ และได้กลายเป็น "อำเภอเสาไห้" ในปัจจุบัน




        เมื่อประมาณปี 2501 นางเฉลียว จันทร์ประสิทธิ์ ได้ฝันว่ามีหญิงคนหนึ่ง บอกว่าเป็นนางไม้ประจำเสาที่จมน้ำอยู่  ให้บอกสามีเอาเสาขึ้นมาจากน้ำด้วย นายเผ่าผู้เป็นสามีก็ไม่เชื่อ มีคนเล่าต่อกันมาว่า นางไม้ของเสาต้นนี้ได้ไปเข้าทรงกับผู้อื่นอีกหลายครั้ง จนในที่สุดชาวบ้านหลายคนก็ได้ไปร้องขอให้นายเผ่าเอาเสาต้นนี้ขึ้นมาให้ได้ ตามคำล่ำลือ จนนำมาสู่การนำเอาเสาขึ้นมาจากน้ำ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2501 และในวันนี้เอง ได้รับคำบอกเล่าจากนายจำลอง ขาววรรณะว่า วันนั้นแดดร้อนจัดมากขณะที่กำลังนำเสาขึ้นจากน้ำ ท้องฟ้าก็มืดครื้มไปหมดทันที มีเสียงฝ้าผ่าดังมากเป็นประกายสีเขียวไปทั่ว เสียงฟ้าร้องคำรามทำท่าคล้ายฝนจะตก ทำให้ผู้คนที่มาเข้าร่วมพิธีกันเป็นจำนวนมากต่างตื่นตาตื่นใจ


“เมื่อสิ้นแสงตะวันความมืดก็เข้าปกคลุมหมู่บ้านไผ่ล้อมน้อยดินแดนลุ่มแม่น้ำป่าสัก
ท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเอื่อยของคุ้งน้ำก็ได้ปรากฏเสียงสอดแทรกผ่านความเงียบในยามค่ำคืน
ผู้คนต่างหวาดกลัวและโจษจันกันไปทั่วเพราะเสียงนั่นโหยหวนคร่ำครวญดังผู้หญิงร้องไห้ราวกับเศร้าโศกเสียใจมานานแสนนาน ”

 เสียงคำบรรยายประกอบการแสดงเรื่อง “เปิดตำนานเสาร้องไห้”





        วันที่ 23 เมษายน 2501 เป็นวันที่เชิญเสาไปประดิษฐานที่วัดสูง เวลา 9.00 น. เริ่มพิธีเคลื่อนเสาไปสู่วัดสูง โดยตั้งศาลสูงเพียงตา มีหัวหมูซ้ายขวา บายศรี 3 ชั้น ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกที่เสาแล้วใช้เชือกผูกแพที่รับเสาไห้ประชาชนดึง เมื่อได้ฤกษ์ พระสงฆ์ 9 รูปเจริญชัยมงคลคาถา ประชาชนที่อยู่บนฝั่งหน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ก็ดึงเชือกแพลูกบวบให้เคลื่อน ไปทางทิศตะวันออก มีเรือแตรวงนำขบวน มีเรือต่างๆร่วมขบวนอีกเป็นจำนวนมาก



        ในวันนั้นที่นำเสาขึ้นจากน้ำมีประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมากประมาณสามหมื่นคน นับเป็นวันประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของชาวอำเภอเสาไห้ที่ต้องจารึกไว้  ต่อมาจึงได้สร้างศาลถาวรขึ้นที่หน้าพระอุโบสถในวัดสูง เป็นศาลกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร มีมุขออกด้านตะวันออก พื้นคอนกรีต มีฐานก่ออิฐสูงรองรับเสาตะเคียน ต่อมาเมื่อวัดสูงได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น จึงได้ดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเดิมเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม และอัญเชิญเสาแม่นางตะเคียนมาประดิษฐานที่ศาลหลังใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2530 มาจนถึงทุกวันนี้



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตำนานงูยักษ์แห่งกาญจนบุรี!!

พญาอนันตนาคราช

พญานาค มีจริงหรือไม่!?